เมนู

กตัญญูกตเวทีเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว เพื่อจะประกาศความนั้น จึงตรัส
อลีนจิตตชาดก1 ในทุกนิบาตนี้ ให้พิสดารว่า:-
" เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิตตกุมาร ร่าเริง
ทั่วกันแล้ว ได้ให้ช้างจับพระเจ้าโกศลทั้งเป็น ผู้ไม่
พอพระทัยด้วยราชสมบัติ, ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสัย
อย่างนี้ เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว เจริญ
กุศลธรรมอยู่, เพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์
ทั้งปวงโดยลำดับ."

ได้ยินว่า ช้างตัวหนึ่งเที่ยวไปตัวเดียว รู้อุปการะที่พวกช่างไม้
ทำแล้วแก่ตน โดยภาวะคือทำเท้าให้หายโรค แล้วให้ลูกช้างตัวขาวปลอด
ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรเถระแล้ว .

ภิกษุควรเป็นผู้ว่าง่ายอย่างพระราธะ


พระศาสดาครั้นตรัสชาดกปรารภพระเถระอย่างนั้นแล้ว ทรง
ปรารภพระราธเถระ ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุควรเป็น
ผู้ว่าง่ายเหมือนราธะ, แม้อาจารย์ชี้โทษกล่าวสอนอยู่ ก็ไม่ควรโกรธ
อนึ่ง ควรเห็นบุคคลผู้ให้โอวาท เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ให้ฉะนั้น
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. ข. ชา. 27/ข้อ 161. อรรถกถา. 3/23.

1. นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย
"บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว
นิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้,
พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต, ( เพราะว่า)
เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี
โทษที่ลามก."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีนํ ได้แก่ หม้อแห่งขุมทรัพย์อัน
เต็มด้วยเงินทองเป็นต้น ซึ่งเขาฝังเก็บไว้ในที่นั้น ๆ
บทว่า ปวตฺตารํ คือ เหมือนอย่างผู้ทำความอนุเคราะห์คนเข็ญใจ
ซึ่งเป็นอยู่โดยฝืดเคือง แล้วชักชวนว่า " ท่านจงมา, เราจักชี้อุบาย
เลี้ยงชีพโดยสะดวกแก่ท่าน" ดังนี้แล้ว นำไปยังที่ขุมทรัพย์แล้ว เหยียด
มือออกบอกว่า " ท่านจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพตามสบายเถิด."
วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสินํ ภิกษุผู้ชี้โทษมี 2 จำพวก คือ
ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่
สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก 1,
ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษ
นั้น ๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่ง
ที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้